คำว่าเก็บข้อมูลลูกค้าให้เยอะที่สุด มากเท่าไหร่ยิ่งดี อาจจะไม่ดีเสมอไปก็ได้ เรามาดูรูปแบบข้อคิดที่ได้จากการทำงานในด้านนี้ ที่คนทั่วไปไม่เข้าใจกัน
1. อยากได้ข้อมูลแบบฟรีๆ ไม่ยอมเสียเงิน
บริการฟรีอย่างเช่น Google Map ผู้ใช้ยินยอมที่จะให้ข้อมูลเพื่อแลกกับบริการที่เขาต้องการ และข้อมูลนั้นก็ถูกนำไปใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวอื่นที่นำมาใช้ทำเงินกับเราได้ต่อ แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้นั้น ยินดีที่จะให้ข้อมูล ถ้าสิ่งที่เค้าได้กลับมามีค่าพอ หลายๆ ธุรกิจมุ่งแต่จะเก็บข้อมูลอย่างเดียวโดยที่ไม่ยอมให้อะไรกลับมากับผู้ใช้เลย นี่เป็นข้อแรกที่อย่างให้ปรับ Mindset ในเรื่องการเก็บข้อมูลนี้
2. มีข้อมูลลูกค้าแล้วแต่ไม่ยอมใช้
อย่าลืมว่าการมีข้อมูลนั้น มันจะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการรวมรวม ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ ดังนั้นถ้าเก็บมาแล้วต้องหาทางนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้
3. ไม่เน้นเก็บข้อมูลเอง เน้นซื้อข้อมูลเอา
จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การทำงานกับข้อมูลในรูปแบบนี้ ไม่เคยมีตัวไหนที่ตอบ ROI ของบริษัทได้เลย
4. ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา
Brand ทั่วไปมักจะเน้นการตลาดไปที่การทำให้ ถูกคน คือเจอคนที่ใช้สินค้าหรือบริการอยู่แล้ว แต่แท้จริงนั้น การทำให้ถูกเวลานั้น สำคัญที่สุด การเข้าไปนำเสนอบริการในจังหวะที่ลูกค้ากำลังต้องการพอดี จะทำให้สามารถปิดการขายได้ ถ้าเป็นสินค้าที่ต้องมีการซื้อซ้ำ ต้องทำให้ลูกค้าไม่มีโอกาสไปคิดถึง brand อื่นได้เลย การนำเสนอสินค้าใจจังหวะที่ลูกค้ากำลังจะซื้อมาเพื่อทดแทน จะมีโอกาสสูงมากที่จะปิดการขายได้
5. ลูกค้าอาจจะไม่รู้ว่าเค้าต้องการอะไรอยู่ก็ได้ (แต่เรารู้ได้)
เราสามารถสร้าง Segmentation ของลูกค้าจากข้อมูลที่มี เพื่อทำการเทียบเคียงจากความต้องการของลูกค้ารายอื่นที่อยู่ใน Segment เดียวกันได้ ก็จะทำให้เราสามารถเดาความต้องการของลูกค้าคนนั้นได้
6. การตลาดแบบหนึ่งๆ ไม่สามารถใช้ได้กับทุกคน
ไม่ใช่ทุกคนที่จะอยากได้โปรโมชั่น 1 แถม 1 ถ้าเราคิดว่าทุกเคนเหมือนกันหมด และส่งสารโปรโมชันออกไปหาคนกลุ่มนี้ นอกจากไม่ได้ผลแล้ว ยังเปลืองค่าส่ง message อีกด้วย
7. ในอนาคตทุก brand จะสามารถทำการตลาดที่ได้ผลกับคนและสถานที่เหมือนกัน ในอีก 1 ปีข้างหน้า เราจะแข่งกันเรื่องถูกเวลา
8. ข้อมูลสถานที่ส่ง สามารถนำมาวิเคราะห์อาชีพของลูกค้าได้
สถานที่ส่งอย่างเช่นโรงพยาบาล เราสามารถเดาอาชีพของลูกค้าได้ คือเป็นหมอ พยาบาล บุคคลากรทางการแพทย์ และเราจะสามารถทำการตลาดได้ดียิ่งขึ้นจากการเทียบเคียงกับกลุ่มคนที่มีความเหมือนกัน